วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 7-8


  1. โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา
  2. สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
  3. จิตวิทยาการออกแบบและการนำเสนอ
                จิตวิทยาด้านกราฟิกกับการออกแบบสื่อการสอน
1. เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดู อย่างไร
           จากการออกแบบกลับพื้นภาพทำให้เกิดการสร้างสรรค์งาน เป็นสัญลักษณ์  (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่าภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดำจะทำให้
ดูโตขึ้น 10-15 %


สังเกตภาพตัวอักษร A  ตัวอักษรดำและขาวโตเท่ากันในการทำต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดำทำให้ดูโตกว่า เทคนิคนี้นิยมนำไปใช้ทำตัวอักษรพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์


………………………………………………………………………………………………………………

2. ให้นิสิตหาภาพ ความลึก (Perspective)  พร้อมอธิบายความหมายของภาพ

              ภาพวัตถุใดอยู่ใกล้จะใหญ่ ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลัก ๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา
จากที่เห็นในภาพสังเกตว่าหน้าต่างที่อยู่ใกล้สุดจะใหญ่  และเมื่อไกลออกไปจะมองเห็นหน้าต่างเล็กลงตามลำดับ

………………………………………………………………………………………………………………..

 3. ให้นิสิตหาภาพ ความขัดแย้ง (Contrast) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ


          เป็นการจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง จากภาพเป็นความตัดกันของศี  แต่กลมกลืนเรื่องรุปร่างและรูปทรง
……………………………………………………………………………………………………………….
จิตวิทยาสีของการออกแบบสื่อการสอน
1. ถ้าต้องการออกแบบและนำเสนอ PowerPoint ถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ ควรใช้สีใด ในการออกแบบเพราะเหตุใดจงอธิบาย
     ควรใช้ตัวอักษรสีเหลืองและพื้นหลังสีม่วง   ซึ่งสีเหลือองนั้นแสดงถึงธรรมะ  ปรัญชญา  ความสุข  ซึ่งเข้ากับหัวข้อการนำเสนอ PowerPoint ถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ เป็นอย่างดี  และการใช้สีม่วง   ช่วยให้สามารถเห็นตัวอักษรเด่นชัดเมื่อนำเสนอ


……………………………………………………………………………………………………………
       2. ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดจาก Google Search ที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ

  
ภาพแรกเป็นการใช้สีเหลืองตัดกับสีแดง  ซึ่งช่วยดึงจุดเด่นของภาพออกมาโดยภาพนี้ต้องการจะสื่อว่าภายใต้ความสุขจะยังมีความทุกข์เล็กๆซ้อนไว้อยู่

ภาพที่สองเป็นการใช้สีแดงตัดกับสีเขียวซึ่งเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง  ซึ่งเป็นสีวรรณะร้อนกับวรรณะเย็น  ช่วยดึงจุดเด่นของภาพออกมาได้อย่างชัดเจน  โดยภาพต้องการให้ดอกไม้เป็นจุดโฟกัสของภาพ
………………………………………………………………………………………………………………
   3. .ให้นิสิตหาตัวอย่างภาพจาก Google Search ในลักษณะการสร้างความกลมกลืน โดยใช้สีในลักษณะสภาพสีส่วนรวม (TONALITY OF COLOR) มา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ

เป็นภาพทุ่งดอกป๊อปปี้  ที่ใช้โทนสีแดงของดอกป๊อปปี้  ทำให้ภาพออกมาดูมีเสน่ห์สวยงามตามแบบฉบับของดอกป๊อปปี้

เป็นภาพที่ใช้โทนของสีฟ้าน้ำทะเล  ภาพนี้ต้องการสื่อถึงภาพท้องทะเลที่สวยงาม
………………………………………………………………………………………………………………

            โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา  Telecommunication for Education
1. โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
                 โทรคมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้นไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ  มีประโยชน์ทางด้านการศึกษาในด้านการเป็นช่องทางการเรียนรู้ทางด้านต่างๆ ช่วยให้จัดการศึกษาได้หลากหลายรูปแบบมาขึ้น
………………………………………………………………………………………………………………..
2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่าง
ประโยชน์ของ
       Facebook Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษามรประโยชน์ในการแชร์ไฟล์งานผ่านทาง Facebook ระหว่างงานบุคคลหรืองานกลุ่ม

……………………………………………………………………………………………………………….
3. นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง
       1. ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชันส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ
         2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
        3. สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
……………………………………………………………………………………………………………..
4. ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
        โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมสามารถ ช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ ในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอน หรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก สามารถใช้โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นสื่อในการสอนได้ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป โดยมีการกำหนดเนื้อหารายการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และ ความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน อีกทั้งทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนได้อย่างทั่วถึง
…………………………………………………………………………………………………………….
5. นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc  และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม
                  สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2538 เพื่อเฉลิม พระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปีโดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  ถ่ายทอดสดหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษา และสายวิชาชีพให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรสามัญศึกษา รวมทั้งการออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษ ทางช่อง 186-200 (True Vision)   ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่  ธันวาคม  พ.ศ.2538  โดยในวันที่ ตุลาคม พ.. 2534 ในหลวงทรงสอนเรื่อง  ดิน  และในวันที่ 30 ตุลาคม  พ.. 2534 ทรงสอนเรื่อง  ฝนหลวง ในรายการ ศึกษาทัศน์
          สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (
DLTV) ดำเนินการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ใน ลักษณะ ดังนี้ คือ
            การศึกษาในระบบโรงเรียน  เป็นการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน(Formal Education) ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอน หรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก โรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการสามารถทำได้ โดยจัดหาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตามตารางเวลาที่ออกอากาศ 
             การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย   เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ข่าวสารข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนทั่วไป (
Informal Education) การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยนี้ กำหนด เนื้อหารายการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบัน และความต้องการของประชาชนในการพัฒนาสภาพ ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน
………………………………………………………………………………………………………………

6.      ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog     





……………………………………………………………………………………………………………….


สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
1. สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ประเภทของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
จำแนกสื่อมวลชนไว้ครอบคลุมสื่อ 6 ประเภท ได้แก่
1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ
AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
 6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว

……………………………………………………………………………………………………………
2. คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คุณค่าด้านการศึกษาของสื่อมวลชน
     วิลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด   สามารถสรุป คุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ
          1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
          2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
          3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
          4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
                  4.1 ความหลากหลาย
                  4.2 ความทันสมัย
                  4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
          5. ความสะดวกในการรับ
          6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก
              จากผลกระทบที่เกิดจากสื่อมวลชนในด้านต่างๆ ดังกล่าว จำเป็นจะต้องจัดให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนในทุกๆด้าน โดยจัดการศึกษา "สื่อมวลชนศึกษา" ขึ้นความหมายของสื่อมวลชนศึกษา หมายถึงการศึกษาหรือการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ การทำงาน และอิทธิพลของสื่อมวลชน ทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ ประเมิน ตัดสินคุณค่าของสื่อ มีปฏิกิริยาตอบโต้สื่ออย่างมีเหตุผล สื่อมวลชนศึกษายังเป็นการฝึกทักษะการนำเสนอสื่อ การผลิตสื่อในระดับที่ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดข้อมูล ความคิดเห็น ความต้องการ ผ่านสื่อได้อย่างเหมาะสม
…………………………………………………………………………………………………………..
3. ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
รายการ ห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ทุกวันเสาร์  เวลา 15.30-16.00 น.  ออกอากาศทาง
Thai PBS
ดำเนินรายการโดย ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย
            รายการห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นรายการที่พาครูไทยไปเรียนรู้จากโลกกว้างตามประเทศต่างๆ เพื่อบอกครูทั้งประเทศผ่านประสบการณ์ที่ครูที่ไปได้รับ เรื่องราวของบุคคล และแหล่งเรียนรู้ต่างๆเหล่านี้ เป็นสื่อที่ให้ความรู้มากมาย ที่สามารถถ่ายทอดให้นักเรียนของเราได้ เพราะการเดินทางนำมาซึ่งการเรียนรู้ เราจึงให้คุณครูเป็นนักเดินทาง

……………………………………………………………………………………………………………….

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้


ทฤษฎีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
ห้องเรียนแห่งอนาคต

                                                                 ถึงครามองหาห้องเรียนแห่งอนาคต#1


                              ถึงครามองหาห้องเรียนแห่งอนาคต#2


                           



แบบฝึกหัด

1. ให้นิสิตบอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับ
ปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์
 

ภาพจากwww.banwangthong.ac.th
 
     สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะเรียน  สื่ออุปกรณ์ในการเรียน  แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  จะสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจอยากจะเรียนในสาขาวิชาชีพครูต่างๆ  และจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น  นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียนมีการแสดงออกทางกาย วาจาและใจตามแบบอย่างครูที่ดีที่สังคมยอมรับกล่าวคือมีคุณธรรม และจริยธรรมที่เป็นเครื่องหมายของคนดี   มีจิตวิญญาณของความเป็นครู  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีการประพฤติ ปฏิบัติสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
……………………………………………………………………………………………………………............
2. “การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษาจัดอยู่ในองค์ประกอบใดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เพราะเหตุใด
              การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษาจัดอยู่ในองค์ประกอบที่ 1 องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ เพราะ สภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ เป็นที่ส่งผลกระทบต่อการเรียน แบ่งเป็นสภาพแวดล้อมในห้องเรียน และสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน ซึ่งการจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นสภาพแวดล้อมทางการเรียนในห้องเรียน  ประกอบด้วย ห้องเรียนและอุปกรณ์ การจัดห้องเรียน สีเสียง แสงสว่าง สื่อการสอน และอุณหภูมิและการระบายอากาศห้องเรียนและอุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………………………..........

3. ให้นิสิตยกตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 
           ห้องเรียนรายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา  ควรจัดโต๊ะเป็นกลุ่มเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนด้านสังคมสร้างความเป็นมิตร  โดยครูจะต้องกำหนดกฎระเบียบโดยกฎระเบียบนั้นจะต้องร่วมกันตกลงกับนักเรียนซึ่งการกำหนดกฎระเบียบภายในห้องเรียนนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความร่วมมือ  และขยันที่จะเรียนรู้  นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างประชาธิปไตยภายในห้องเรียนด้วย  นอกจากการจัดโต๊ะเป็นกลุ่มแล้วห้องเรียนควรที่จะมีความเป็นระเบียบสะอาดน่าเรียน  อีกทั้งต้องมีสื่ออุปกรณ์ในการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ต้องเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนโดยจะต้องออกแบบโต๊ะให้สามารถพับคอมพิวเตอร์เก็บลงโต๊ะเรียนเพื่อความสะดวกในชั่วโมงที่ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์  โปรเจกเตอร์ฉายวีดีทัศน์ต่างๆ  นอกจากนี้แล้วบุคลิกภาพของครูในการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีการศึกษาควรที่จะต้องมีความน่าเชื่อถือ  เป็นกันเอง  ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน  และจะต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครูที่ดีมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการจัดสภาพห้องเรียนเช่นนี้จะช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน  นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน   ครูมีความรู้สึกสนุกและอยากสอนนักเรียน   และทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายของการเรียนการสอน
ภาพจากwww.dailynews.co.th

ภาพจากwww.spu.ac.th
………………………………………………………………………………………………….....................

4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิสิตจะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านอย่างไร จงอธิบาย 
         จัดสภาพห้องเรียนให้สะอาดน่าเรียน  มีการจัดโต๊ะเรียนเป็นกลุ่มครูสามารถเข้าถึงนักนักเรียนได้ทุกโต๊ะเพื่อสะดวกในการทดลอง  การเรียนเป็นกลุ่มและยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนรวมถึงครูผู้สอนด้วย  นอกจากนี้ต้องมีอุปกรณ์การทดลอง  สื่อการเรียนการสอนต่างๆครบท้วน  เพื่อให้เด็กนักเรียนทุกคนได้ลงมือทำการทดลองต่างๆด้วยตนเอง  ซึ่งจะทำให้นักเรียนจดจำจนเกิดเรียนรู้สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วครูผู้สอนควรมีบุคลิกที่น่าเชื่อถือ   เป็นกันเอง  ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน  และจะต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครูที่ดีมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการจัดสภาพห้องเรียนเช่นนี้จะช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน  นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน   ครูมีความรู้สึกสนุกและอยากสอนนักเรียน   และทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายของการเรียนการสอน
……………………………………………………………………………………………...........................

5. แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
 แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มี ๕  ประการ  ได้แก่
      ประการที่  ๑ ได้แก่แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา
        ปรัชญาการศึกษาจะเป็นสิ่งบ่งชี้นโยบายในการจัดการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องดำเนินไปให้สอดคล้องกับนโยบายนั้นๆ
         
ประการที่  ๒ เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา  
        อันได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคมตลอดจนจิตวิทยาในการทำงาน หลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยานี้จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย การเรียนรู้การรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้ดีควรเป็นอย่างไร
          
ประการที่ ๓  เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสาร
        เนื่องจากการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหลักการต่าง ๆ ของการสื่อสารจะช่วยในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่นหลักการที่ว่าการสื่อความหมายจะได้ผลดี ต่อเมื่อ ผู้รับเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่ง ดังนั้นผู้สอนควรทำอย่างไร จะใช้สื่อชนิดใด หรือจัดสถานการณ์อย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด
      
     ประการที่  ๔   เป็นแนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา
          เป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่อาศัยสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังอาศัยเทคนิค วิธีการตลอดจนแนวคิดต่างๆ เพื่อมาปรุงแต่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นที่น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้เรียน
           
 ประการที่  ๕   แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์ (ergonomics)
ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน G.F. McVey แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เออร์โกโนมิกส์และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
มาเป็นเวลานานเพื่อค้นหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพลักษณะใดจงจะเหมาะกับผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ความกว้างความสูง ของโต๊ะ เก้าอี้ ขนาดของห้องเรียน ขนาดของห้องฉายการติดตั้ง
จอ ระบบเสียงในห้องเรียน ห้องฉาย สภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ เหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเอื้ออำนวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน
……………………………………………………………………...................................................

ภาพจากwww.aycthailand.com


วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทัศนศึกษาสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



ทัศึ "สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล"
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เมื่อเวลา  13.00 น.  ว่าที่เรือตรี ดร.อุทิศ บำรุงชีพ ได้พานิสิตศึกษาศาสตร์ เอกการสอนเคมี มาทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน จังหวัดชลบุรี

ภายในสถาบันวิทยาศาตร์ทางทะเลประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
  เป็นส่วนที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย โดยทรัพยากรที่ใช้ในการให้ความรู้คือสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่ยังมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้  สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 หัวข้อใหญ่  ได้ดังนี้
1. สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง


     โดยทั่ว ๆ ไปบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง จะมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดอาศัยอยู่มากมาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง สำหรับส่วนที่จัดแสดงไว้ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล บางแสนนี้ เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง บริเวณที่เป็นหาดหิน และมีน้ำขังอยู่ตามแอ่งหิน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกกันทั่วไปว่า "แอ่งน้ำขึ้น-น้ำลง" (Tidal Pool) ตามธรรมชาติตามแอ่งน้ำขึ้น-น้ำลงเช่นนี้จะพบ กุ้ง ลูกปลาบางชนิด หอยนางรม ปูเสฉวน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล ฯลฯ

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011551.JPG2. ปลาในแนวปะการัง 
             บริเวณแนวปะการังนับเป็นแหล่งที่มีความ อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของทะเล เพราะสัตว์ทะเลหลาย ชนิดอาศัยบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบ ซ่อนภัยและเป็นแหล่งอาหาร

3. การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต
   สิ่งมีชีวิตในทะเลเหมือนกับสิ่งมีชีวิตบน บกคือ มีการอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกัน ในรูปแบบต่าง ๆ

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011552.JPGhttp://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011563.JPG
                                                                                           
4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม   
    เป็นสัตว์
โครงร่างแข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัว และ บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกัน อันตราย และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ เช่น หอย หมึก กุ้ง หนอนทะเล และ ฟองน้ำ 
5. ปลาเศรษฐกิจ   
  ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนเป็นบริเวณที่ค่อนข้างมีปลาชุกชุม และปลาหลายชนิดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับประเภทของปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ 
1. พวกที่นำมาเป็นอาหาร
 
2. พวกที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม
6. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ      
  ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย ปลาประเภทนี้มีประมาณ 500 ชนิด


http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011580.JPGhttp://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011584.JPG

7. ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร  
     ในทะเลและมหาสมุทรมีปลาขนาดใหญ่หลายชนิดอาศัยอยู่ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก



ส่วนที่ 2 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล 

แบ่งเป็น 2 ส่วนย่อย
    ส่วนแรก   

    จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012760.JPGhttp://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012768.JPGhttp://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012766.JPG

ส่วนที่สอง     จัด แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ 
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012830.JPG














 
3. ห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล

          ส่วนนี้เป็นส่วนของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งไม่สามารถเปิดให้เข้าชมได้

ภาพความประทับใจ






....................................................................................................................................





วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

Educational technology




เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้มากกว่าจะยึดเนื้อหาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงาน และด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนจากความหมายต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีนั้นมาใช้ในวงการศึกษา ซึ่งเทคโนโลยีนั้นในบางครั้งจะเป็นการประดิษฐ์เพื่อใช้ในวงการอื่นๆ โดยเฉพาะก็ตาม แต่สามารถนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีการศึกษาได้ เช่นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณและวงการธุรกิจก็ยังสามารถนำมาใช้ในการบริหารสถาบันการศึกษา และช่วยในการเรียนการสอนได้                                                                                 



เทคโนโลยีทางการศึกษษ 1


เทคโนโลยีทางการศึกษา 2

ประเภทของแหล่งการเรียนรู้
        1.แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล  ตัวอย่างเช่น
               1.1
กาลิเลโอ  กาลิเลอี   (Galileo  Galilei)                                                 นักวิทยาศาสตร์ และนักปราชญ์ ชาวอิตาลี

                         1.2  เซอร์ไอแซก  นิวตัน  (Sir  Isaac  Niwton)

 นักคณิตศาสตร์  นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญา ชาวอังกฤษ

                          1.3   ตัน ภาสกรนที
                   
นักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  และ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด 


                  1.4  
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ 
                      ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 16

                     1.5 พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ 
   2. แหล่งการเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ  ตัวอย่างเช่น
             2.1 น้ำตกทีลอซู
       ตั้งอยู่ใน
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก 
                     











               2.2หมู่เกาะสิมิลัน               (Mu Ko Similan) จังหวัดพังงา











             2.3   ภูกระดึง
             ภูกระดึง เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นภูเขาหินทรายยอดตัด เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีความสูง 400-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตรจากระดับน้ำทะเล







2.4ถ้ำพระยานคร          ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดด อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์  ถ้ำพระยานครเป็นถ้ำขนาดใหญ่ในบริเวณแหลมศาลา เพดานถ้ำมีปล่องให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ด้านล่างเป็นป่า ต้นไม้ค่อนข้างสูงชะลูด ถ้ำพระยานคร ถูกค้นพบกว่า 200 ปีมาแล้ว โดยพระยานครผู้คลองเมืองนครศรีธรรมราชแต่ไม่ทราบนาม ขณะที่ขึ้นฝั่งมาหลบพายุภายในถ้ำ 
     ภายในถ้ำมีโบราณสถานที่สำคัญคือพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เป็นพลับพลาจตุรมุข สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2433 พระที่นั่งนี้ใช้เป็นตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปัจจุบันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์




           2.5
ทุ่งดอกกระเจียว ชัยภูมิ    ต.บ้านไร่, อ.เทพสถิต

ดอกกระเจียวบานเป็นสีชมพูอมม่วง ตัดกับสีเขียวของลำต้นก้านใบและยอดหญ้า กลายเป็นทุ่งดอกกระเจียวที่สวยงามน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะวันที่สายหมอกปกคลุม
 3.   แหล่งเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง หมายถึง อาคาร สถานที่ หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น
                               

                               3.1 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗

                               3.2 ปราสาทสัจธรรม
ปราสาทสัจธรรม เป็นสถาปัตยกรรมไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ บริเวณแหลมราชเวช ตำบลนาเกลืออำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีในเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ เป็น ชาวบ้านเรียกชื่อปราสาทแห่งนี้โดยทั่วไปว่า "วังโบราณ" หรือ "ปราสาทไม้"  ทุก ๆ ชิ้นส่วนที่ถูกนำมาก่อสร้างปราสาทสัจธรรมแห่งนี้จะเป็นไม้ทั้งหมด แม้แต่ตัวล็อกที่เอาไว้เชื่อมไม้แกะสลักแต่ละชิ้น ไม่ได้ใช้ีตะปู แต่ใช้ แต่ใช้ระบบเข้าเดือยไม้แบบไทย หรือ ใส่สลักไม้



                     3.3  อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง              ปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง  ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ  ที่มีความงดงามมากที่สุดแห่ง หนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้  ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร



3.4  ปราสาทหินพิมาย           เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวนและนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อว่าเป็นต้นแบบในการสร้างนครวัดในเขมรปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของภูมิภาค มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญทางตอนเหนือของลาวและทางตอนใต้ของขอม



3.5  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
           การดำเนินงานของศูนย์ฯ เขาหินซ้อนฯ ได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมการศึกษา ทดลอง วิจัย และการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ดินทรายจัดเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีรูปแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว โดยให้บริการแก่ประชาชนและเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ ณ ที่แห่งเดียวในทุกสาขาวิชาชีพ เสมือน ”พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในด้านการเกษตรกรรม และการพัฒนาอาชีพ เพื่อเป็นต้นแบบ และแนวทางให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติในพื้นที่ต่อไป โดยเฉพาะหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน ๑๕ หมู่บ้าน เนื้อที่ ๑๑๓,๒๑๔ ไร่




4 แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยี หมายถึง แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
               
                   4.1  กล้องถ่ายรูป


             4.2  การทำเปลไม้ไผ่



             4.3 เครื่องปั้นดินเผา



                   4.3 เครื่องฉายหนัง

              4.4 เครื่องบันทึกเสียง
         4.5  คอมพิวเตอร์
5. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเคลื่อข่ายอินเตอร์เน็ต

        5.1 Blogger           
           Blogger
 เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คุณต้องการในลักษณะของ Webblog บริการเหล่านี้คุณสามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้ หากคุณต้องการใช้blogger เพียงแค่สมัคร Gmail ก็สามารถสร้าง blog ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้การสร้าง blog ด้วย blogger นั้นเชื่อมโยงพื้นที่เก็บรูปภาพเข้ากับpicasa ซึ่งเป็นบริการด้านภาพถ่าย ทำให้คุณมีพื้นที่เขียน blog และพื้นที่เก็บรูปภาพที่สัมพันธ์กัน




        5.2 My Space (www.myspace.com)
        
My Space คือ เว็บบล็อก ที่ทาง msn ให้ผู้ที่ใช้ msn ได้เข้าไปใช้บริการกัน ก็มีคำถามต่ออีกว่า เจ้า weblog คืออะไร สำหรับ เจ้า Web Blog อยากให้เรานึกง่ายๆ ว่ามัน คล้าย ไดอะรี่ แต่ไม่ใช่นะ ย้ำ ว่า บล็อก ไม่ใช่ ไดอะรี่ โดยบล็อกจะมีความหลากหลายมากกว่า เพราะในบล็อก ผู้ที่เป็นเจ้าของเนื้อที่นั้น จะเป็นผู้ที่ดูแลเนื้อหา ว่า จะให้เป็นแนวไหน หรือว่าจะเป็นเนื้อเรื่องอะไร ส่วนหลายคนเอามาเป็น ไดอะรี่ นั้น ผิดไหม คงไม่ผิด คือมันแล้วแต่ว่า ผู้ดูแลจะเป็นอย่างไร



  5.3 Face Book (www.facebook.com)          
         
          Mark Zuckerberg
ก่อตั้ง Facebook เว็บชุมชนออนไลน์ (Social-Networking Site) ที่กำลังได้รับความนิยมสุดขีดในขณะนี้ เมื่อ 3 ปีก่อน ขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ที่เขาก่อตั้งขึ้น ด้วยวัยเพียง 22 ปี

5.4 Orkut (www.orkut.com)
เว็บไซต์หาเพื่อนสำหรับกลุ่มนักท่องเว็บขี้เหงานั้น ครองความนิยมมายาวนาน จนเกิดเว็บไซต์ใหม่ขึ้นมามากมาย แม้เต่เจ้าพ่อเสิร์จเอนจินอย่างกูเกิล (Google) เองก็ไม่ยอมน้อยหน้า ก้าวเท้าเดินตามรอยเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Friendster เพื่อเข้าสู่วงการ social networking ด้วยการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาโดยให้ทีมวิศวกรของกูเกิลทำเป็นโปรเจค ของตัวเอง กูเกิลใช้กลยุทธโปรเจคส่วนตัวนี้เพื่อสร้างเว็บไซต์ใหม่ๆขึ้นมาได้อย่างชาญ ฉลาด โดยเว็บไซต์นี้ใช้ชื่อว่า Orkut.com เพื่อใช้เป็นเว็บไซต์เชื่อมต่อระหว่างเพื่อนถึงเพื่อน ให้คุณสามารถสร้างความสนิทสนมได้บนความสะดวกสบาย


5.5 MSN Messenger 


 MSN MESSENGER หรือที่ เราชอบเรียกกันว่า MSN เนี่ย มันก็คือ โปรแกรมส่งข้อความข้าม ระบบเน็ทเวิร์ค แบบทันทีทันใดไงล่ะคะ เราสามารถสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย พร้อมกับความสะดวกและรวดเร็ว